วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

'BIG TIGER' แผ่นเสียงไม่ทิ้งลาย

'BIG TIGER' แผ่นเสียงไม่ทิ้งลาย

แผ่นเสียงเก่า,bigtiger,จตุจักร
'BIG TIGER' แผ่นเสียงไม่ทิ้งลาย
การมาสวนจตุจักรในวันนี้ ผมตั้งใจมาหาเสียง ... เฮ้ย! ไม่ใช่ ส.ส. แต่ผมมาหาแผ่นเสียงเพลงในดวงใจ หากไม่เจอก็คิดเสียว่า มาเดินเล่นก็เท่านั้น สวนจตุจักรเป็นศูนย์การค้าที่นิยมของคนไทยและต่างชาติ ขึ้นชื่อเรื่อง เสื้อผ้า รองเท้า และอีกมากมาย ด้วยราคาที่ถูกบวกกับตัวเลือกที่เยอะจนแทบจะครบวงจร เรียกได้ว่า ไม้จิ้มฟันไปถึงเรือรบรัสเซียก็อาจจะหาได้จากที่นี่ ในขณะที่บ้านเมืองกำลังชัตดาวน์ แต่ผมยังฝ่าฟันหาแผ่นเสียง โดยไม่คิดไม่ฝันว่าจะมาเจอร้านแผ่นเสียงเล็กๆ แต่แสนคลาสสิค ที่มีชื่อว่า BIG TIGER ผมได้พูดคุยกับเจ้าของร้าน 
สุธล บุญดง อายุ 39 ปี หรือ ‘พี่ชล’ ข้าราชการหนุ่มจากกรมปศุสัตว์ ในคราบนักขายแผ่นเสียงที่หลงใหลในเสียงเพลง พรหมลิขิตทำให้พบกับร้านนี้เพราะพี่ชลดันเปิดเพลงของ
คุณ จรัล มโนเพ็ชร (จำเสียงร้องได้แต่จำชื่อเพลงไม่ได้) ร้านพี่ชลไม่ใหญ่โตนัก แผ่นเสียงถูกจัดเรียงเพลงไว้ในลังไม้ ได้บรรยากาศเหมือนของเพิ่งส่งข้ามเรือมา การแยกแผ่นเสียงหาง่ายเพราะแบ่งฝั่งไทยและเทศ ชั้นโชว์ในร้านถูกวางด้วยแผ่นเสียง เด่นๆ ทั้งแนวลูกทุ่งบวกสตริงยุค 70s, 80s 
เมื่อได้พูดคุยกับพี่ชลจึงได้รู้ว่า ชื่อร้าน BIG TIGER มีที่มาจากซอยเสือใหญ่ จันทรเกษม ทั้งยังเป็นชื่อของกลุ่มเพื่อนที่ชอบฟังดนตรีเช่นเดียวกัน ผมถามพี่ชลด้วยความสงสัย “พี่เป็นนักฟังเพลงตัวยงหรือเปล่า?” พี่เขาตอบได้ทันทีว่า “ไม่เท่าไหร่ จริงๆ แล้วพี่เป็นคนชอบสะสมของเก่า ก่อนที่พี่จะมาขายแผ่นเสียง เคยขายเสื้อผ้าตรงนี้มาก่อนเกือบ 10 ปี ส่วนอาชีพหลัก เป็นข้าราชการ เสาร์-อาทิตย์ก็มาขายแผ่นเสียงเป็นอาชีพเสริม”
พี่เริ่มเก็บแผ่นเสียงได้ประมาณ 4 - 5 ปีที่แล้ว เมื่อก่อนซื้อมาก็ขายไป ไม่ได้มาสะสมเหมือนตอนนี้ เพราะไม่มีเครื่องเสียง แต่พอมีเครื่องเสียงก็ได้เก็บแผ่นเสียงเยอะขึ้น บางแผ่นที่ชอบ ก็ซื้อเก็บซ้ำๆ ไว้เป็นจำนวนมาก สาเหตุการนำแผ่นเสียงออกมาปล่อยสู่ตลาดนั้น เนื่องจากประสบปัญหาทางการเงิน  จึงเริ่มรู้สึกว่าแผ่นเสียงมีจำนวนมากขึ้น และกระแสคนเล่นแผ่นเสียงกำลังเป็นที่นิยม จึงคิดที่จะนำออกมาขายบ้าง เสน่ห์ของแผ่นเสียง คือคุณภาพเสียงดูเป็นธรรมชาติกว่าซีดี เพราะซีดีมันเป็นดิจิตอล เสียงสังเคราะห์ได้ไม่สุด อีกทั้งแผ่นเสียงยังคงมีความคลาสสิคมีความสดเหมือนศิลปะงานดนตรีในตัว 
การสนทนายังมีต่อไป พี่ชลเริ่มเล่าเรื่องความเป็นมาของแผ่นเสียงให้ฟังเรื่อยๆ ในสมัยก่อนแผ่นเสียงไวนิลทำออกมาขายกลุ่มคนค่อนข้างมีเงิน ราคากว่า 200 บาท อีกทั้งอุปกรณ์ในการเปิดมันจะมีหลายชิ้น ต่อมาเป็นยุคของเทปคาสเซ็ท แค่ซื้อเครื่องมาตัวเดียวก็เปิดได้ เมื่อก่อนราคาม้วนละ 50 - 60 บาท เห็นจะได้ พอยุคหลังจากเทปคาสเซ็ท คนเริ่มหันไปฟังซีดีกัน คนทำกิจการผลิตแผ่นเสียงไวนิลก็เลิกกิจการกันไป แต่สำหรับแผ่นเสียงที่ออกมาในยุคสุดท้ายก็เห็นก็จะเป็น โมเดิร์นด็อก
ตอนนั้น  โมเดิร์นด็อกไม่ได้ทำออกมาขาย แต่ทำออกมาเพื่อโปรโมทส่งตามสถานีวิทยุเท่านั้น 
“ในบรรดาลูกค้า ที่มาซื้อก็จะเป็นชาวต่างชาติมากกว่าคนไทย มาซื้อเพลงไทยเก่าๆ หมอลำ ลูกทุ่ง เพราะเพลงลูกทุ่งเราไปดังในบ้านเขา ลูกทุ่งเก่าๆ ต่างชาติจะนิยมมากถ้าเป็นคนไทยส่วนมากที่มาซื้อนั้นจะค่อนข้างมีอายุ ถ้าเป็นวัยรุ่นหน่อยก็จะเป็นสายดีเจ จะมาซื้อแผ่นไปฟัง ไม่ก็ไปเก็บสะสม”
การขายแผ่นเสียงนั้นอาจจะเป็นธุรกิจที่ใครหลายคนใฝ่ฝัน แต่สำหรับพี่ชลเขาหลงใหลเวลาที่ได้พูดคุยกับลูกค้า ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากกว่า เพราะส่วนมากพวกเพื่อนของพี่ชลจะเป็นนักฟังเพลงกันมากและจะเป็นคนที่นิยมเล่นของเก่าด้วย เมื่อพบคนที่มีความชอบเหมือนกันจะมีความสุขเป็นพิเศษ
“ขายแผ่นเสียงมีความสุขมากกว่าการขายเสื้อผ้า เพราะแผ่นเสียงเราได้ฟังดนตรี ได้พูดคุยกับคนหลากหลายในเรื่องของดนตรี มันทำให้เราทำงานสนุก”
ก่อนที่ผมจะเดินออกจากร้าน พี่ชลได้แนะนำแผ่นเสียงที่ประทับใจที่สุดสำหรับเขา ‘จอมใจจักรพรรดิ สวรรค์บางกอก’ผมใช้เวลาคุยกับพี่ชลเกือบชั่วโมง ทำให้รู้จักแผ่นเสียงไวนิลกับความคลาสสิคของมัน และได้แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ชายคนนี้ในด้านความรักในเสียงเพลงกับความชอบในแผ่นเสียง หากท่านจะหาแผ่นเสียงหรือต้องการเพื่อนที่ชอบฟังดนตรีเหมือนกันลองไปเลือกซื้อเลือกชมหรือแวะไปพูดคุยกับพี่ชลได้ 
ที่มา : http://www.jr-rsu.net/article/1219

แผ่นเสียงไวนิล

แผ่นเสียงไทยสมัยรัชกาลที่ 5



แผ่นเสียงอาจจะเป็นของเล่นที่แปลกไปเสียแล้วสำหรับคนหนุ่มคนสาวยุคปัจจุบัน  เพราะคนยุคนี้ไม่ได้ใช้แผ่นเสียงแต่ใช้เทปตลับกัน และในปัจจุบันนิยมกันในรูปแบบของ CD ซึ่งมีหลายรูปแบบ อาทิเช่น ; CD ธรรมดา มีเพลงไม่เกิน 25 เพลง รูปแบบ mp3 ซึ่งใส่เพลงไว้ฟังกันเป็นร้อยกว่า 200 เพลง หรือ mp4 สามารถฟังเพลงกันได้จุใจกันในชีวิตประจำวันจนไม่ได้สนใจว่า  แผ่นเสียงนั้นดีมีคุณค่าอย่างไร
          แผ่นเสียงจะเกิดขึ้นมาไม่ได้  หากไม่มีเครื่องเล่นจานเสียงเกิดขึ้นมาก่อน  และในขณะเดียวกันเรื่องจานเสียงนั้น  ก็เกิดขึ้นไม่ได้เหมือนกันถ้าไม่มีใครคิดเครื่องบันทึกเสียงขึ้นมาก่อน
          โธมัส  เอลวา  เอดิสัน คนอเมริกันคิดเครื่องบันทึกเสียงขึ้นได้เป็นคนแรกในบ้านของเขาเอง  ที่เมืองเล็กๆชื่อ เมลโลพาร์ค  ในรัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา เมื่อพ.ศ.2427  ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5  ของไทยเรา  แรกทีเดียวไม่ได้เป็นแผ่นแต่เป็นกระบอกกลมยาวๆเหมือนกระบอกข้าวหลาม  เขาบันทึกเสียงโดยให้เสียงนั้นผ่านลำโพงแล้วรีดเข้าไปในช่องแคบๆ พลังเสียงจะสั่นสะเทือนไปสู่เข็มแหลมๆ ซึ่งจะขูดลงบนขี้ผึ้งแข็งที่เคลือบไว้บนกระบอกเสียง  ซึ่งกำลังหมุน  ก็เกิดเป็นร่องเสียงที่ขรุขระไปตามแรงความกระเทือนของเสียงนั้น  เป็นร่องหมุนไปโดยรอบกระบอกเสียงตั้งแต่จุดต้นของกระบอกไปจุดสุดที่ปลายกระบอก
          เมื่อเอากระบอกกเสียงที่มีรอยขรุขระนั้น มาหมุนอย่างเดิม  แล้วใช้เข็มเดิมจ่อลงไปให้กระเทือนตามร่องเดิมที่ขรุขระนั้น  เสียงก็จะกลับออกมาอย่างเดิมทั้งนี้โดยมิได้อาศัยการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าแต่อย่างใดทั้งสิ้นเพลงหนึ่งกว่าจะจบต้องใช้หลายกระบอก  เครื่องนี้เราเรียกว่ากระบอกเสียงของเอดิสัน ( Edison’s Cylinder )
                           
          (ทอมัส  เอลวา  เอดิสัน )
 อีมิล  เบอร์ไลเนอร์  เป็นคนเยอรมันในยุคเดียวกันกับเอดิสัน  ที่คิดเปลี่ยนกระบอกเสียงขึ้นมาเป็นแผ่นกลมคนแรก  ซึ่งสะดวกกว่าและบันทึกเสียงได้ยาวกว่า  เขาจึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งจานเสียง ( Father  of the disc )
          แรกทีเดียวเขาใช้บึนทึกเสียงจากกลางแผ่นให้เข็มขูดเป็นร่องออกมาสู่แผ่นช้าๆ เพลงจึงมาจบที่ขอบของแผ่นเสียง  เรียกแผ่นรุ่นแรกนั้นว่า ” แผ่นเสียงร่องกลับทางของเบอร์ไลน์เนอร์ ” ปัจจุบันหายากเต็มที แต่ก็พอหาดู หาซื้อได้จากนักสะสมแผ่นเสียงเก่า เช่นที่บ้านพันโทสมชาย  หอมจิตร ตรอกวัดไก่เตี้ย  ราคาแผ่นละหลายร้อยบาท  เป็นเพลงไทยทั้งสิ้น  ไม่มีเพลงฝรั่ง  ทั้งนี้เพราะเราอัดเสียงกันเองในเมืองไทยนี้  โดยมีช่างฝรั่งเข้ามาควบคุมบันทึกเสียงตั้งแต่ประมาณ  พ.ศ.2437-2440  สถานที่อัดเสียงลงจานแบบเบอร์ไลน์เน่อร์นี้  คือที่วังบ้านหม้อ  ของเจ้าพระยาเทเวศวร์วงศ์วิวัฒน์ ( ม.ร.ว.หลาน  กุญชร ) นักร้องก็เป็นหม่อม (ภรรยา ) ของท่านนั่นเอง
          
 ( เบอร์ไลเนอร์ )
ต่อมาจึงพัฒนาเป็นแผ่นที่เล่นจากขอบเข้าไปสู่กลางแผ่น  เริ่มจากแผ่นหนาๆ ทำด้วยครั่ง  ตกแล้วแตก  จนกระทั่งกลายเป็นแผ่นลองเพลย์  ร่องละเอียดแล้วในที่สุดก็มากลายเป็นแผ่นโลหะ  ใช้แสงเลเซอร์แทนเข็ม  นั่นก็คือ  Compact Disc ที่ใช้กันทุกวันนี้ ฝรั่งใช้เวลาร่วมร้อยกว่าปี  กว่าจะเปลี่ยนจากกระบอกเสียงของเอดิสันมาเป็น Compact Disc ได้สำเร็จ เป็นแผ่นคงทนถาวรเสียงดีไม่มีที่ติ
          หลายคนอาจจะเห็นว่า  ของเก่าไม่เห็นจะดี  สมัยนี้แผ่นเสียงเก่าน่าจะไม่มีประโยชน์แล้ว  ถ้าคิดอย่างนั้นก็เท่ากับมองข้ามประโยชน์ของเก่าอันเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ไปอย่างน่าเสียดาย  เหมือนคนหนุ่มสาวที่ไม่เห็นคุณค่าของคนชราและวัฒนธรรมเก่าแก่ของชาติ   ดังนั้นเพื่อให้เห็นคุณประโยชน์ของแผ่นเสียงเก่า   จึงเห็นว่าน่าจะเขียนเรื่องเล่านี้ไว้ เพราะไม่เคยเห็นใครเขียนมาก่อนเลย
          เราลองมาดูรูปที่ลงในเวปนี้ดูไปช้าๆอย่างพินิจพิเคราะห์จะเห็นบรรดารูปแผ่นเสียงเก่าและเครื่องเล่นจานเสียงเก่าที่ผู้เขียนมีอยู่กว่า 1,000  รูป  ถ่ายมาจากแผ่นเสียงจริงของตัวเองบ้างของเพื่อนบ้าง แล้วลองมาดูซิว่า  เราได้อะไรจากแผ่นเสียงเก่าเหล่านี้บ้าง
          เราจะเห็นรูปเอดิสัน  คนต้นคิดแผ่นเสียง  เห็นรูปบิดาแห่งจานเสียงคือ Emile  Berliner  ถ้าไม่มีคนๆนี้  คิดแผ่นเสียงให้เราใช้  ก็จะไม่เกิดความสะดวกในการฟังเพลงเพราะๆ  อย่างที่เรามีกันทุกวันนี้  สิ่งที่ได้จากรูปนี้คือ  ได้รู้จัก ได้เห็นหน้าบุคคลสำคัญของโลกที่เคยทำคุณประโยชน์ให้แก่โลกนี้
            อย่างที่ 2 แสดงให้เห็นเครื่องเล่นจานเสียงโบราณ  ซึ่งคนไทยเรียกชื่อเครื่องชนิดนี้ว่า   หีบเสียง  เพราะมันมีลักษณะเป็นหีบไม้จริงๆ  บนหีบนั้นเป็นที่วางจานเสียง  ทำให้แผ่นหมุนได้โดยวิธีการไขลานด้วยมือ  ( โปรดดูที่ไขลานด้านซ้ายของหีบ ) มีลำโพงขยายเสียงต่อจากตัวหีบโดยมีท่อออกมาจากด้านหลัง  นำเสียงออกมาขยายให้เราได้ฟัง  ทั้งหมดนี้  เป็นความอัศจรรย์ของความคิดของมนุษย์  เมื่ออดีตลำโพงนั้น  อาจทำให้โตเท่าสุ่มไก่ก็ได้   โดยต้องใช้โซ่แขวนห้อยลงมาจากเพดานบ้านยิ่งลำโพงใหญ่เท่าใด  เสียงก็จะยิ่งดังขึ้นเท่านั้น  ลำโพงขนาดที่เห็นนี้เส้นผ่าศูนย์กลางราวฟุตครึ่ง  ของโบราณบางอันปากลำโพงใหญ่เท่ากระด้งก็ยังมี
ท่านจะเห็นรูปของแผ่นเสียงทำด้วยกระดาษ  เจาะรูเป็นวงกลมใหญ่ที่ตรงกลาง  มีคำภาษาอังกฤษว่า  Odeon  อ่านว่าโอเดียน  เป็นชื่อบริษัทแผ่นเสียงที่เข้ามาอัดเสียงเพลงไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5   ราว พ.ศ.2450  ชื่อนี้  ได้นำมาใช้เป็นชื่อโรงภาพยนตร์โอเดียนยังเปิดบริการฉายหนังอยู่ในกรุงเทพฯ เพิ่งทุบทิ้งไปในปี 2539 นี้เอง
          ดูไปเรื่อยๆ จะเห็นรูปแผ่นเสียงเก่าของบริษัทต่างๆ มีตราแปลก ๆ เป็นเครื่องหมายการค้า  เช่นตราสุนัขเอียงคอ  ตรานก  ตราหงส์  ตราลิง  ตรา Beka  Grand  Record  มีรูปนกกระยางเหลียวหลัง  นกนั้นหันมาฟังเสียงที่เกิดจากจานเสียง  เป็นแผ่นที่อัดสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นเดียวกัน  แต่ใหม่กว่าของ  Berliner  เล็กน้อย  วางเข็มที่ขอบไปจบที่กลางแผ่น
          สิ่งที่สำคัญคือข้อความจากแผ่นกระดาษวงกลมที่ปะกลางแผ่น  บอกชื่อเพลง  ชื่อคนร้อง  ชื่อวงดนตรี  ที่แปลกนั้นบางแผ่นไม่บันทึกเพลงแต่อย่างใด  แต่เป็นการบันทึกเสียงอ่านหนังสือเรื่องพระอภัยมณี  ของท่านกวีเอกสุนทรภู่  ประโยชน์ที่ได้ก็คือ  ทำให้เรารู้ว่าคนไทยสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ยังมีที่อ่านหนังสือไม่ออกเป็นจำนวนมากทีเดียว  เมื่ออยากจะฟังเรื่องพระอภัยมณีที่สุนทราภรณ์เขียนไว้  หาคนอ่านไม่ได้ก็เปิดแผ่นเสียงแทนโดยนายขวาน  และนายดำ  เป็นผู้อ่านทำนองเสนะ ฟังบ่อยๆเข้าก็จำได้  สามารถเล่าตามได้  ท่องปากเปล่าได้เป็นกลอนยาวๆ  ยังกับว่าเป็นคนรู้หนังสือที่ชอบอ่านประจำอ่านเสียจนจำได้นั่นแหละ  แท้จริงฟังเสียงจนจำได้ต่างหาก
          แผ่นตราสุนัขนั่งเอียงคอฟังเพลงของบริษัทฝรั่งชื่อ  Gramophone  Concert  Record  จะเห็นรูปเครื่องเล่นจานเสียงที่นิยมใช้กันมากในสมัยรัชกาลที่ 6 บริษัทนี้มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า  His  Master’s  Voice  แปลว่า  หมานั่งฟังเอียงคอฟังเสียงนายของมันที่บันทึกไว้ในแผ่นโดยที่เสียงที่ออกมานั้น  ชัดเจนเหมือนกับเสียงที่นายนายในขณะที่พูดจริง ๆกับมัน และมันจำได้ดี  แผ่นเสียงตราหมานั้น มีมากมายหลายสี มีหมาขาว  หมาดำ  รูปหมานั้นพิมพ์บนกระดาษสีต่างๆ สวยงามราวกับแสตมป์  จึงเก็บไว้ชมเล่นเพลินเพลินได้  นับเป็นการประชาสัมพันธ์แผ่นเสียงโบราณอย่างหนึ่ง
  ความสำคัญอยู่ที่ข้อมูลบนกระดาษวงกลมปะบนแผ่นเสียงอีกเช่นเคยตัวอย่างเช่นเขียนไว้ว่า  เป็นการบันทึกเสียงละครร้องเรื่องพระอภัยมณี  ตอนนางสุวรรณมาลีขึ้นเฝ้าพระอภัย  เกิดศึกเก้าทัพ  แต่ละทัพมาจากประเทศต่างๆ คือ จีน ไทย  มอญ  เขมร  พม่า  ญวน ลาว   แขก   ฝรั่ง  ฯลฯ  ยกมาช่วยนางละเวงวัลลาเพื่อรบกับพระอภัยมณี  หากใครชนะก็จะได้แต่งงานกับนางละเวงซึ่งเป็นสาวที่ทั้งสวยทั้งรวยและฉลาดแถมยังได้ครองเมืองของนางละเวงได้เป็นเจ้าแผ่นดินอีกด้วย  ไพเราะ และสนุก  ทั้งชุดนั้น  มีแผ่นเสียงหลายแผ่น  มีเพลงไทยสำเนียงภาษาต่างๆ  ครบทั้งเก้าภาษา  เรียกว่าเพลงออกภาษา
          ยิ่งไปกว่านั้น ยังบันทึกไว้อีกว่า  คนร้องมีสามคน  ชื่อแม่แป้น  แม่ตลับ  แม่หงิม  บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์หลวงเสนาะดุริยางค์ (แช่ม  สุนทรวาทิน ) เจ้ากรมพิณพาทย์หลวงสมัยรัชกาลที่ 5 เราจึงรู้ว่าแผ่นนี้อัดสมัยรัชกาลที่ 5  แล้วมาขายดีในรัชกาลที่ 6 ระหว่างปี พ.ศ. 2452 ถึง 2460  นักร้องสามคนนั้นเป็นสาวจากวังบ้านหม้อของเจ้าพระยาเทเวศน์วงศืวิวัฒน์ เจ้ากรมมหรสพสมัยรัชกาลที่ 5เรียกว่าได้คุณค่าในทางประวัติศาสตร์ยิ่งนัก
          จากการประกวดเครื่องเสียงและหีบเสียงโบราณซึ่งบริษัทสยามกลกาลจัดขึ้นหลายปีมาแล้วที่โรงแรมดุสิตธานี  แสดงให้เห็นว่าของเก่ามีประโยชน์  จึงมีการนำมาประกวดกัน  มีผู้ได้รับรางวัลมากมายหลายคน  คนที่ได้ไปชมนิทรรศการก็ได้ความรู้ได้ประโยนช์มหาศาลจากการประกวดครั้งนั้น
          ยังจำได้ว่า  ท่านเจ้าของเสียงในแผ่นบางท่านที่เคยร้องไว้เมื่อยังสาวได้ไปร่วมงานคราวนี้ด้วยอย่างน้อย 2 ท่าน  มีคุณครูท้วม  ประสิทธิกุล  ครูเจริญใจ  สุนทรวาทิน  ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติทั้งคู่  ทำให้เรารู้จักบุคคลสำคัญมากขึ้น  ได้เรียนรู้มากขึ้น
          ยังจำได้ว่า  ดร.ถาวร  พรประภา ประธานในพิธี  พูดว่า เราจะต้องจัดอีก มีกำไรดีควรจัดงานนี้ตอบแทนประชาชนเขาบ้าง  นี่เวลาก็ล่วงไปกว่า 10 ปีแล้วคงมีกำไรมากแล้วก็น่าจะได้จัดอีกครั้งหนึ่ง  ท่านก็มาป่วยเสียก่อน  จึงขอบันทึกไว้ว่าเรายังคอยท่านเมตตาอีกครั้ง
           พอเห็นแผ่นได้อ่านข้อมูลข้างต้นคนที่อยากรู้  ก็เข้าห้องสมุดค้นเอ็นไซโคลปิเดียก็พบว่า  ในประวัติการบันทึกเสียงนั้น  ที่ว่าเริ่มต้นที่เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อเม็นโลปาร์ค  รัฐนิวเจอร์ซี่  สหรัฐอเมริกา  โดยฝีมือของโทมัส  อัลวา  เอดิสันนั้นฝรั่งเขาจดไว้ว่าเอดิสันทำสำเร็จ  เมื่อวันที่  15  สิงหาคม  พ.ศ. 2420  ตรงกับสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของเรา  ครองราชย์ได้ 9 ปี เพลงแรกที่บันทึกลงกระบอกเสียงได้นั้น  เอดิสันเป็นคนร้องเอง เป็นเพลงสำหรับเด็กชื่อ Merry had a little lamb  อีกสิบปีต่อมา ในพ.ศ. 2430  เอดิสันจดทะเบียนลิขสิทธิ์แล้วผลิตออกจำหน่าย  ปีที่เขาจดทะเบียนนั้น  โรงพยาบาลศิริราชเพิ่งจะเกิด  กระทรวงกลาโหมยังสร้างไม่เสร็จเรียบร้อยดี
           กระบอกเสียงของเอดิสันนี้  ส่งเข้ามาขายในเมืองไทยประมาณพ.ศ. 2436  ยังหาไม่พบว่าใครเป็นผู้นำเข้ามาเป็นคนแรก  มีข้อดีอยู่ที่ว่าเมื่ออัดเสียงเสร็จแล้วก็เปิดฟังได้ทันที  จึงทันใจคนฟังมาก  แต่มีข้อเสียอยู่ที่ว่าไม่ทนทานเพราะขี้ผึ้งที่ฉาบไว้บนผิวรูปทรงกระบอกนั้นอ่อนตัวชำรุดได้ง่ายถ้าถูกความร้อนหรือถูกกระแทกแรงๆ ร่องเสียงจะเสีย  ใช้การไม่ได้อีกต่อไป
          การบันทึกเสียงเพลงไทยครั้งแรกๆ บันทึกลงบนกระบอกเสียงแบบที่กล่าวมานี้  นายต.เง็กชวนได้บันทึกไว้ว่า  ท่านได้เห็นการบันทึกเพลงเป๋ (เพลงฉ่อย )ครั้งแรกที่ตลาดบ้านใหม่  อำเภอเมือง  จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปีพ.ศ.2437 โดยมี ” แม่อินทร์ “ดาราเพลงฉ่อยสมัยนั้นเป็นผู้ร้องบันทึกเสียงไว้  พอร้องเสร็จก็เปิดฟังได้ทันที ปรากฏว่ามีผู้นิยมกระบอกเสียงมาก  ต่อมาจึงได้มีการบันทึกเพลงไทยประเภทต่างๆไว้เปิดให้คนฟังเวลามีงานต่างๆ เช่นงานวัด  งานบวช  และงานศพ  เป็นต้น  เพลงที่บันทึกไว้มีตั้งแต่มโหรี  ปี่พาทย์  แตรวง  เพลงฉ่อย  เทศน์มหาชาติ  ลิเก  ตลอดไปจนถึงเพลงพื้นเมืองแบบต่างๆ  กระบอกเสียงไปแสดงในงานใดคนก็ไปมุ่งดูกันแนนเสมอ
          เวลาผ่านไปนานอีกหลายปี นับแต่กระบอกเสียงเข้ามาเล่นในเมืองไทยแผ่นเสียงแบบ Berliner  เข้ามา  แล้วมาอัดเพลงเป๋  เพลงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์  อัดเป็นแม่แบบขี้ผึ้งแล้ว  ก็ส่งไปทำเป็นแผ่นครั่งที่ประเทศเบลเยี่ยม  ไม่มีตราประทับว่าเป็นของบริษัทใด  จนถึงรัชกาลที่ 5  ท่านเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2  มีพระราชหัตถเลขาปรากฏในพระราชนิพนธ์ไกลบ้าน  ขณะประทับแรมที่เมือง  Hamburg  เยอรมนี  ลงวันที่ 2  กันยายน  พ.ศ.2451ว่า
           มาฮอมเบิกดูแห้งเต็มที  จะเอาอะไรมาเล่น  วนไปวนมาสักสองสามเที่ยว  ตกลงซื้อกรามโมโฟน (Gramophone คือ เครื่องเล่นจานเสียงแบบไขลาน-ผู้เขียน ) กล่าวคือไอ้อ้อแอ้  แต่เป็นอ้อแอ้เพลงฝรั่ง  อยู่มาหน่อยหนึ่งพวกนักปราชญ์ราชบัณฑิตในเรื่องเพลง  ส่งเพลงไทยมาให้สามสี่แผ่น  เพลงแสนเสนาะ  นั้น  เพลงหนึ่ง  ยายส้มจีนเป็นผู้ร้อง  ละครเรื่องสุวรรณหงศ์  ต้นอย่างยิ่งเรื่องหนึ่ง  แกะบายศรีมหาราช  เสภาเรื่องพระไวยตีเมีย  ไม่ครบท่อน  มีสามอย่างเท่านั้น  ฟังทุกวันจนจดจำได้  แล้วหัวเราะได้ทุกวัน  ตั้งแต่มาถึงนี่จนวันนี้  ครั้นวันนี้ได้เพลงไทยมาเสียใหญ่  มียี่เกและเทศน์ชูชกอะไรต่างๆ ตกลงเลยฟังเพลงนั้นเอง  เพลงฝรั่งไม่ยักได้ฟัง  "
          พิจารณาตามพระราชหัตถเลขาฉบับนี้แล้ว    จะทราบได้ทันทีว่าสมัยรัชกาลที่  5  ของเราได้มีการอัดแผ่นเสียงไทยกันไม่น้อย  ไม่ว่าจะเป็นละครแหล่เทศน์  เสภาตลก  มีทั้งนั้น  สมัยเรานี้เสียอีก  ผลงานบันทึกเสียงการละเล่นแบบไทยแท้หาเกือบไม่ได้เลย  มีแต่เพลงลูกทุ่งลูกกรุงและดิสโกเพลงที่ร้องอย่างเอ็ดตะโรเต็มไปหมด
          ผู้เขียนได้นำภาพแผ่นเสียงเพลงไทยที่มีรุ่นที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมีรับสั่งถึงนี้  มาตีพิมพ์ไว้แล้ว  พอให้ท่านผู้อ่านได้เห็นหลักฐานว่าเป็นแผ่นเสียงตราเทวดา ( Anger  Record ) บันทึกโดยบริษัท Gramophone  Concert  Record  ทำที่เมืองHanover เยอรมนี  รูปเทวดามีปีกตรา(Cupid  หรือพระกามเทพ) ตราการค้าของแผ่นนั้น  คนไทยตั้งชื่อว่า  ” ตราอรหันต์
          กลับไปดูรูปใหม่อีกครั้งหนึ่ง  โปรดสังเกตสะกดการันต์บนป้ายวงกลมจะเห็นชื่อเพลง  เช่น ” บุหลัน ” เขียนเป็น ” บูหลัน “  ”ใบ้คลั่ง เขียนเป็น  ” บั้ยคลั่ง “  ” ส้มจีน ” เขียนเป็น ” ซ่มจีน ” แผ่นเสียงชุดนี้อัดหน้าเดียวทั้งสิ้น  ส่วนด้านหลังพิมพ์ตราโฆษณาบริษัทไว้  แผ่นชุดนี้ควรจะบันทึกเสียงประมาณ  พ.ศ.2449-2450 หรืออาจจก่อนเล็กน้อย  จะต้องอัดในกรุงเทพฯก่อน  แล้วจึงส่งมาเป็นแผ่นถาวรที่เมืองแฮนโนเวอร์  แผ่นออกมาถวายรัชกาลที่ 5 ทรงฟังได้ในเดือนกันยายน
          นอกจากนี้  ยังมีเพลงของนักร้องชายอีกหนึ่งท่านคือ ” นายขวาน ” เป็นนักเทศน์  แต่ผู้เขียนไม่ทราบว่า  นายขวานผู้นี้นามสกุลว่าอะไร
          เมื่อต้นปี พ.ศ.2523  อาจารย์มนตรี  ตราโมท  ผู้ที่เชียวชาญดนตรีไทยของกรมศิลปากร  ได้กรุณาให้แผ่นเสียงเก่ามายังผู้เขียนแผ่นหนึ่ง  เป็นแผ่นเสียงแบบเบอร์-ไลเนอร์ชนิดร่องกลับทาง  เป็นแผ่นหน้า 19 และ 20 ของละครดึกดำบรรพ์เรื่อง ” คาวี พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า  กรมพระยาริศรานุวัตติวงศ์ ผู้ขับร้องคือ  หม่อมเจริญ ” ภรรยาคนหนึ่งของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ( ม.ร.ว.หลาน  กุญชร  เจ้าของวังบ้านหม้อและแม่เทด  ( ต่อมาคือคุณหญิงเทศ   นัฏกานุรักษ์  อยู่ในสายสกุลสุวรรณภารต ) เสียงยังพอฟังรู้เรื่องแต่ไม่ชัดนัก
          เมื่อได้แผ่นเสียงเพลงตับคาวีมาแล้วก็เกิดคำถามขึ้นว่า  บางทีแผ่นนี้ดูจะเก่ากว่าของหม่อมส้มจีนกระมัง  เพราะดูลักษณะการทำเป็นแผ่นไม่เรียบร้อยเลยตัวหนังสือเขียนด้วยลายมือโบราณมิได้ใช้พิมพ์ดีด  แต่เมื่อนับอายุคนร้องแล้วหม่อมเจริญอายุน้อยกว่าหม่อมส้มจีนมาก  สมัยนั้นหม่อมส้มจีนก็นับว่าเป็นนักร้องชั้นครูอยู่แล้ว  แต่คงจะ หรู สู้หม่อมเจริญไม่ได้  เพราะหม่อมเจริญเป็นภรรยาคนโปรดเสียงดีของท่านเจ้าพระยาวังบ้านหม้อ  แต่หม่อมส้มจีนเป็นเพียงภรรยาของพระยาราชานุประพันธ์ ( สุดใจ  บุนนาค ) ย่อมจะสู้ภรรยาของเจ้าพระยามิได้
          อนึ่ง  ละครดึกดำบรรพ์เรื่องคาวีพระนิพนธ์สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์นี้  เคยเล่นที่โรงเรียนดึกดำบรรพ์ของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ที่บ้านหม้อมาแล้วระหว่างปี พ.ศ. 2442-2447  แผ่นนี้จะอัดในครั้งนั้นหรือทีหลังไม่สามารถบอกได้  แต่ที่รู้แน่ก็คือ  ทำเป็นแผ่นในประเทศเบลเยียมไม่ใช่บริษัทชั้นดีของเยรมนี  คุณภาพอาจสู้ไม่ได้  สรุปแล้วในขณะนั้น  ผู้เขียนยังสองจิตสองใจว่าระหว่างหม่อมเจริญ  กับหม่อมส้มจีนสองคนนี้  ใครจะได้อัดแผ่นเสียงก่อนกันแน่  ต่อมาจึงรู้ชัดว่าหม่อมเจริญ  แม่เทศ  แม่อินทร์ นักร้องเพลงเป๋ ) ได้อัดเพลงก่อน  ส่วนหม่อมส้มจีนนั้นได้ร้องเพลงสามชั้นลงแผ่นเป็นคนแรกประมาณปี  2450-2451  คือเพลงชุดแสนเสนาะ  บุหลัน  และใบ้คลั่งที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง
          ยุคของการอัดเสียงโดยไม่ใช้ไฟฟ้านี้มาจบลงในปลายรัชกาลที่ 5 ( พ.ศ.2453 ) เพราะในสมัยนั้นรัชกาลที่ 6 ตอนปลายรัชกาลแล้ว จึงได้เริ่มอัดด้วยไฟฟ้า บทความฉบับนี้จึงขอจบลงในยุคการอัดแผ่นเสียงแบบ Non  Electric  Recording ก่อน  ในฉบับหน้าจะเล่าต่อถึงแผ่นเสียงเพลงไทยสมัยรัชกาลที่ 6  ซึ่งอัดด้วยไฟฟ้าทั้งจะได้วิจารณ์ถึงคุณภาพของเสียงที่บันท฿กได้นั้น  ให้ท่านผู้อ่านได้ติดตามตอนต่อไปด้วย

                                นายแพทย์พูนพิศ   อมาตยกุล
                            
 
 ข้อมูลอ้างอิงจาก ; http://www.geocities.com/tonchababshop/new_page_2.htm
                                นอกจากนี้ยังสามารถฟังเพลงเพราะๆ ได้ที่ ; http://www.theoldsweetsong.com/

นักสะสมแผ่นเพลงแห่งดาวโลก


Album:Photos from Mads Musicaddictiondisorders's post in What r u listening to?


นักสะสมแผ่นเสียง แห่งดาวโลก ...เรื่องโดย นิรันศักดิ์ บุญจันทร์ 
กรุงเพทธุรกจิ จุดประกาย วันที่ ศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2556

ถ้าคุณเปิดร้านขายแผ่นเสียเก่าแล้วจู่ๆ วันหนึ่งมีคนโทรศัพท์มาสั่งซื้อแผ่นเสียงที่ร้านของคุณ 20,000 แผ่น(สองหมื่นแผ่น) โดยที่คุณไม่รู้ว่าคนซื้อเป็นใครมาจากไหน แน่นนอนที่สุด...คุณจะต้องรู้สึกประหลาดใจ และคิดว่าหมอนั่นคงเพี้ยน หรือไม่ก็แกล้งโทรมาเล่นเท่านั้น เพราะคงไม่มีใครหรอกที่จะสั่งซื้อแผ่นเสียงทีละสองหมื่นแผ่น และแม้คุณจะติดต่อกลับไป เพื่ออยากจะรู้ตัวตนของชายคนนั้น แต่ก็ไม่รับเพียงเสียงหัวเราะและการปฏิเสธว่าไม่สะดวกที่จะมาดูที่ร้านเท่านั้น

นอกจากนี้แล้วคนสั่งซื้อแผ่นเสียงนิรนาม ยังบอกให้คุณคัดเลือกแผ่นเสียง พร้อมบอกราคาทั้งหมด และจัดการส่งมาตามที่อยู่ที่ระบุอีก้วย... นี่จึงยิ่งสร้างความงุงงสงสัยให้กับคุณมากยิ่งขึ้นและสิ่งที่คุณคาดคิดไว้แต่แรกว่าเป็นคนเพี้ยนโทรมาล้อเล่นนั้นผิดหมด เพราะคนที่สั่งซื้อแผ่นเสียงนั้นมีตัวตนจรงิๆ จนมากระทั่งคุณขนแผ่นเสียงขึ้นรถหกล้อไปส่งตามที่นัดหมาย ซึ่งเป็นโรงงานสเตนเลสแห่งสึ่งแถวบางน้ำจืด แลมีเลขาสาวหน้าตาแบบสาวชาวบ้านธรรมดาๆ ออกมาต้อนรับพร้อมเขียนเช็ดจำนวนเงินก้อนโตให้นั้นแหละคุณก็ถึงกับนิ่งอึ้งอยู่พักใหญ่ เหมือนโดนก้อนหินทุบหัวเลยทีเดียว

แล้วนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลังจากมีการติดต่อซื้อแผ่นเสียงกับชายคนนี้ในฐานะเป็นลูกค้าประจำบ่อยครั้งมากขึ้น คุณก็มีโอกาสรู้ว่า ชายคนดังกล่าวนั้นคือใครและมื่อคุณได้เห็นโลกส่วนตัวของเขาแล้ว ก็ทำให้คุณต้องตกตะลึงพรึงเพริดทันที เนื้องจากสิ่งที่คุณเห็นนั้น ไม่น่าเชื่อเลยว่าจะเป็นไปได้ มันน่าเป็นมนุษย์ต่างดาวหรือไม่ก็เป็นคนที่มีอะไรพิเศษ และแตกต่างจากคนทั่วๆ ไปนั้นเอง 


<ความหลังของช่างไม้คนหนึ่ง>
อดิศักดิ์ แจ่มจิราศัย เกิดแถวๆวัดปากน้ำภาษีเจริญ เตี่ยมาจากเมืองจีนเป็นลูกจ้างอยู่ที่สำเพ็ง ส่วนแม่เป็นคนไทยรับจ้างเย็บเสื้อโหล หกาย้อนวันเวลาไปเมื่อ 50 กว่าปีที่ผ่านมา เด็กหนุ่มวัย 15 ปีที่ชื่อ “อดิศักดิ์ แจ่มจิราศัย” มีชีวิตค่อนข้างลำบาก เนื่องจากฐานะครอบครัวไม่ค่อยดี ดังนั้นจึงต้องดิ้นรนช่วยเหลือตัวเองด้วยการเป็นช่างไม้ ได้รับค่าจ้างเงินเดือนพันกว่บาท หนังสือหนังหามีโอกาสได้เรียนแค่ชั้นประถมเท่านั้น แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถทดแทนให้กับชีวิตได้ ก็คือการหาหนังสือมาอ่านเอง 

นอกจากนี้แล้วยังเป็นคนที่ชื่นขอบในเสียงเพลงอีกด้วย 
“สมัยนั้นได้เงินเดือนพันกว่าบาท เวลาทำงานก็ฟังวิทยุ ยุคนั้นเพลงของ สุรพล สมบัติเจิรญ โด่งดังมาก ผมฟังเพลงสุรพล จนจำเนื้อร้องได้แทบทุกเพลง สมัยนั้นจะฟังเพลงอย่างอื่นก็ไม่ค่อได้ เพราะเป็นวิทยุธรรมดาๆ จะมัวไปหมุนหาคลื่นก็ไม่ได้อีก เพราะเป็นข่วงเวลาทำงาน ทำงานเจ็ดโมงเช้า เลิกหนึ่งทุ่ม จนกระทั่งเพือนคนหนึ่งเอาแผ่นแค็ตาล็อกวิทยุยี่ห้อเทเลพุ่งเก้นมาให้ดูนั้นแหละ ใจอยากจะได้มาก แต่เราเป็นลูกจ้าเงินเดือนพันกว่าบาท การจะซื้อวิทยเทเลพุ่งเก้นสักเครื่องจึงเป็นแค่ความฝันเท่านั้น” 

อดิศักดิ์ ย้อนความหลังให้ฟังถึงสิ่งที่ค้างคาอยูในใจ เมื่อสมัยทำงานเป็นช่างไม้ และมันได้กลายเป็นความฝันที่ซ่อนอยู่ในใจลึกๆ จนกระทั่งเห็บหอมรอมริบลงทุนทำธุรกิจเกี่ยวกับแป็บน้ไ และเติบโตกลายเป็นนักธุรกิจเต็มตัวในเวลาต่อมา จึงขยายกิจการมากขึ้นโดยลงทุนทำโรงงานผลิตเกี่ยวกับสเตนเลสในระดับหลายร้อยล้านบาท 
แต่ในขณะที่ธุรกิจโรงงานสแตนเลสกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี จนเมื่อปี 2540 เศรษฐกิจไทยล่มสลายหรือยุคฟองสบู่แตก จึงทำให้เป็นหนึ้หลายร้อยล้านบาททันที พร้อมกันนี้ความเครียดกับ

ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นยังจู่โจมโรมรันชีวิตอย่างนักหน่วง 
“คิดดูสิ...อยู่ดีๆ ผมต้องกลายเป็นคนมีหนี้สินหลายร้อยล้านบาท ผมเครียดมากช่วงนั้น เวลานั่งโต๊ะทำงาจะอ้วกออกมากเลยล่ะ นอนก็นอนไม่หลับ หาวิธีรักษาหลายอย่างก็ไม่หาย ไปหาหมอโรงพยาบาลหลายแห่งก็ไม่ดีขึ้น จนไปเจอเพื่อคนหนึ่งเป็นหมออยู่ที่ศิริราชนั้นแหละ เขาจึงจับตัวผมตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียดว่าเป็นโรคอะไรกันแน่น ในที่สุดเพือนหมอก็บอกว่า..โธ่เอ็ย..ไม่เป็นอะไรหรอก เครียดไปเอง แล้วก็แนะนำผมว่าเลิกเครียดได้แล้ว”

หลังจากรู้สาเหตุว่าโรงที่ตัวเองเผชิญอยู่นั้นคือความเครียด จึงหาวิธีทำให้หายเครียดโดยสิ่งที่มันยังฝังใจสมัยเป็นหนุ่มช่างไม้วัย 15 ปีเกี่ยวกับเสียงเพลงและวิทยุมันผุดขึ้นในความอย่างฉับพลัน
“สิ่งแรกหลังจากไปพบเพื่อหมอด และรู้ว่าตัวเองเป็นโรคเครียดเท่านั้น ไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงอะไรอื่น ผมตัดสินใจซื้อเครื่องเสียง ProAC ราคาล้านกว่าบาท เล่นทันที พอซื้อแผ่นเสียงมาเล่น และมีโอกาศได้ฟังเพลงเท่านั้น จึงทำให้ผมรู้สึกหายเครียด จิตใจสบายไม่วิตกกังวลใดๆ และสามารถจะนอนหลับได้ซึ่งผมถือว่าเสียงเพลงมันเป็นยาขนานเอกทีดีอย่างยิ่ง บางคนบอกว่าสวดมนต์จะทำให้หลับสบาย แต่สำหรับผมแล้วการได้ฟังเพลงทำให้ผมหลับสบาย จนทุกวันนี้ก่อนนอนจะต้องฟังเพลงทุกคืน” 

นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่เสียงเพลงจากแผ่นเสียงเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และปี 2541 เป็นต้นมาจึงเสาะแสวงซื้อแผ่นเสียงมาสะสมเอาไว้จนที่โรงงาน อดิศักดิ์ กลายเป็นแหล่งสะสมแผ่นเสียงขนาดใหญ่ นับแสนๆ แผ่น โดยมีแผ่นเสียงเพลงทุกประเภท และถ้าจะบอกว่ามีมากที่สุดในเมืองไทยและในกลุ่มประเทศอาเซียนก็ย่อมได้ 

<เหตุผลที่อยู่เหนือเหตุผล >

ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เห็นนักธุรกิจจะสะสมภาพเขียน สะสมนาฬิกา หรอสะสมพระเครื่องแต่

สำหรับ อดิศักดิ์ นักธุรกิจ 66 ปีที่เติบโตมาจากช่างไม้กลับหลงไหลเสียงเพลง วิทยุ และเครื่องเสียงมากกว่า 
“เมื่อก่อนผมเองก็ชอบนาฬิกา ผมซื้อยี่ห้อเดียวคือปาเตะฟิลิปเท่านั้น ซื้อทีละ 10 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะไปซื้อร้านหนึ่งแถวๆ เซ็นทรัลเวิลด์ ใส่กางเกงขาสั้นไปซื้อ ซื้อเสร็จ ก็ใส่กะเป๋ากางเกงกลับบ้าน ... จนปี41 เป็นต้นมาผมเริ่มสะสมแผ่นเสียง นอกจากนี้ยังสะสมวิทยุโบราณ ,เครื่องเล่นกระบอกเสียง , เครื่องลำโพง และเครื่องเล่นแผ่นเสียง... เหตุผลก็เพราะมันเป็นเส่งที่ทำให้ชีวิตผมมีความสุข” 

นอกเหนือจากแผ่นเสียงเพลงต่างๆ นับแสนๆ แผ่นแล้ว สิ่งที่ชวนให้ตืนตาตื่นใจ ก็คือวิทยุโบราณยี่ห้อโด่งดังของโลก ซึ่งมีทั้งหมด 850 เครื่องนอกจากนี้แล้ว ยังมีเครืองเล่นแผ่นเสียง จำนวน 350 เครื่อง ซึ่งล้วนแล้แต่เป็นสิ่งของหายากทั้งสิ้น และบอกได้เลยว่าที่นี่มีมากที่สุดในเมืองไทย และมากว่าพิพิธภัณฑ์ทุกแห่งในบ้านเราอีกด้วย
“สิ่งเหล่านนี้ผมไม่ได้สะสมเอาไว้ขาย ... แม้แต่แผ่นเสียงแผ่นเดียวผมก็ไม่ขาย มันมีคุณค่าทางจิตใจอย่างมาก” 

และมีอีกสิ่งหนึ่งที่ใครเห็นแล้วจะรู้สึกตืนตาตืนใจอย่างยิ่ง นั้นก็คือ เครื่องเล่นกระบอก เสียง Edison ยุคแรกอายุ 126 ปี ซึ่งมีทั้งหมด 7 เครื่อง เช่นเดียวกับเครื่องแอมป็และลำโพงยี่ห้อดังของโลกที่สะสมเอาไว้จำนวนมากมาย เช่น คอนราด จอนห์นสัน , จาดิส โดยตึกอาคารในบริษัทสี่ห้าชั้น พืนที่ส่วนมากจะเป็นที่เก็บวิทยุโบราณ และเครื่องลำโพงชนิตต่างๆ ทั้งสิ้น ซึ่งบางเครืองราคานับล้านบาท และหาได้ยากยิ่งในทุกวันนี้ 


<คุณค่าที่มากกว่าราคาแผ่นเสียง >

การแสวงหาแผ่นเสียงของ อดิศักดิ์ นอกจากจะติดต่อซื้อตามร้านต่างๆ แล้วยังมีคนรู้จักกันเอามาให้ฟรีๆ อีกด้วย เพราะเห็นว่าเป็นคนที่ชอบแผ่นเสียง 
“ก่อนที่ผมจะซื้อไม่ว่าจะเป็นแผ่นเสียง หรือเครื่องเสียงต่างๆ ผมจะหาดูข้อมูลจากหน้งสือหนังหาก่อน เพราะผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือเกี่ยวกับเครื่องเสียง ผมอ่านมาตั้งแต่สมัยเป็นหนุ่มแล้ว “
เมื่อถามว่าแผ่นเสียงที่ซื้อมาราคาสูงสุ คือแผ่นอะไร อดิศักดิ์ บอกอย่าไม่รีคอว่า 
“เป็นแผ่นเสียงของ Blue Note ซึงเป็นเพลงแจ็ส เป็นแผ่นออริจินับที่มีลักษณะพิเศษ โดยด้านหนึ่งมีที่อยู่มีข้อมูล แต่อีกด้ายกลับไม่มี โดยมันหลุดออกมาไม่กี่แผ่นเท่านั้นราคาที่ซื้อมาตกหมืนกว่าบาท” 

สำหรบแผ่นเสียงที่มีอยู่นั้น จะมีเพลงทุกประเภท ทั้งเพลงไทย เพลงสากล และเพลงงิ้ว ด้วย เพราะเป็นคนที่รู้ภาษาจีน 
“ แผ่นเสียงแต่ละแผ่น ไม่ว่าจะเป็นเพลงลูกทุ่ง เพลงไทยสากล เพลงคลาสสิก ตลอดจนเพลงงิ้ว มันจะมีเรื่องราวต่างๆ อยู่ในนั้น เหมือนการบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ โดยเฉพาะเพลงลูกทุ่งยุคเก่าที่แต่งโดยครูเพลงที่มีชื่อเสียง มันเป็นศิลปะที่ยอดเยี่ยม อย่างเพลงบางเพลงเรานึกไม่ถึงเลยว่า เขาแต่งออกมาได้อย่างไร มันเพราะมันมีความหมายที่ลึกซึ้งมาก อย่างเพลง ของ สุรพล สมบัติเจริญ และของครูไพบูลย์ บุตรขัน” 
ในฐานะที่เป็นนักสะสมแผ่นเสียง, วิทยุ, เครื่องเสียงและลำโพงแห่งดาวโลก อีกทั้งเป็นคนที่มอง

เห็นคุณค่าของเสียงเพลง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ย่อมต้องมีศิลปินที่ซื่นขอบเป็นพิเศษอย่างแน่นอน
“ถ้าถามผมว่าขอบเพลงของใครมากที่สุด ต้องบอกว่าผมชอบ สุรพล สมบัติเจริญ มากที่สุด ผมถือว่าสุรพลเป็นบุคคลที่มีคุณค่าอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีความสามารถสูงอีกด้วย เป็นทั้งนักดนตรี นักร้อง นักแด่งเพลง 
และเป็นนักบริหาร โดยเฉพาะเพลงที่แต่งออกมาแต่ละเพลง ไม่ว่าจะร้องเองหรือแต่งให้คนอื่นร้อง ล้วนแล้วแต่โด่งดังทั้งสิ้น 
นักร้องอีกคนที่ผมชอบ ก็คือ ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา ชอบตรงน้ำเสียงที่ซึ่งนุ่มลึกมาก ฟังแล้วสบายอามารณ์อย่างยิ่ง...แต่ถ้าเป็นนักร้องฝรั่งผมชอบ เอลตัน จอนห์น ซึ่งผมฟังมานานแล้ว เพลงเขามีความหมายดีมาก... 

ส่วนเพลงอีกประเภทที่ชอบฟังก็เป็น เพลงคลาสสิก โดยผมสะสมแผ่นเสียงเพลงประเภทนี้มากที่สุด” ในส่วนทัศนะเกี่ยวกับเสียงเพลงนั้น อดิศักดิ์ บอกว่า...เสียงเพลงทำให้ความขัดแย้งของคนเราลดลง ทำให้โลกนี้มีความสงบและมีความสวยงามมากขึ้น 

<ชีวิตในโลกสองด้าน >

ลกแลชีวิตด้านหนึ่งของ “อดิศักดิ์” นั้นทุกวันนี้เป็นเจ้าของบริษัท เกรทเซ้นทรัล (อินเตอร์เนชั่นเนล) จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานอุตสาหกรรมผลิตสเตนเลศ นอกจากนี้แล้วยังเป็นนายกสมาคมสเตลเลสไทยอีกด้วย และเนื่องจากเป็นคนที่ต้องดิ้นรนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมาโดยตลอดนับตั้งแต่วัยหนุ่ม จึงมุมานะเล่าเรียนจนจบระดับปริญญาตรี คณะเสรษฐศาสตร์ ม.รามคำแหง และ ปัจจุบันก็กำลังศึกษาระดับปริญญาโทคณะเดียวกันนี้
ส่วนชีวิตอีกด้านที่ทุ่มเทให้กับโลกแห่งเสี่ยงเพลงและเครื่องเสียงต่างๆนั้น อดิศักดิ์ เปิดเผยความในใจว่า อยากจะให้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับคนรุ่นหลังๆ คล้ายเป็นพิพิธภัฑ์หรือห้องสมุออะไรทำนองนั้น ซึ่งสามารถจะยืมแผ่นเสียงไปฟังได้ หรือจะมาศึกษาเกี่ยวกับวิทยุและเครื่องเสียงโบราณได้ 

แม้มันจะเป็นโครงการที่อยู่ในใจผม .. แต่มันก็มีปัญหาอยู่มาก เพราะแผ่นเสียงวิทยุและเครื่องเสียงจำนวนมาก จำเป็นที่จะต้องมีสถานที่ขนาดใหญ่ ต้องมีคนดูแลรักษาและทีสำคัญจะต้องมีคนที่รู้เรื่องข้อมูลต่างๆ กี่ยวกับแผ่นเสียงแต่ละแผ่นมานั่งทำงานด้วย อันนี้เป็นปัญหาอย่างมาก มันเป็นงานที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน... แต่ถึงอย่างไรโครงการเหล่านี้ยังอยู่ในความคิดของผม ตลอดเวลาเพื่อต้องการให้สังคมได้เรียนรู้กับสิ่งต่างๆที่ผมได้สะสมไว้” 
และเขาได้ย้ำอีกว่า “ เสียงเพลงทำให้ความขัดแย้งของคนเราลดลง ทำให้โลกนี้มีความสงบและมีความสวยงามมากขึ้น” 
ใช่แล้ว...นี่คือคำยืนยันของนักสะสมแผ่นเสียงแห่งดาวโลก และคือความจริงทุกประการ


ที่มา : 
http://www.inphono.com/index.php/forum/7-hobbies/41180----

ประวัติของแผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง

ประวัติ[แก้]

แผ่นเสียง/จานเสียงครั่ง[แก้]

แรกสุดเป็นกระบอกอัดเสียงเคลือบขี้ผึ้งแบบเอดิสัน ซึ่งในเมืองไทย (สยาม) ใช้บันทึกเพลงไทยเดิม ตั้งแต่ราวปลายรัชกาลที่ 4 ต่อมาเริ่มมีการบันทึกเสียงลง แผ่นครั่ง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนใหญ่เป็นเพลงเรื่องบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ที่กำลังได้รับความนิยมในสมัยนั้น [1] ซึ่งมักไม่จบในหน้าเดียว จึงต้องบันทึกต่อกันเป็นชุดๆละหลายแผ่น
โดยทั่วไปมีขนาด 10-12 นิ้ว สปีด 78 รอบ/นาที บันทึกและเล่นกลับได้หน้าละไม่เกิน 3-5 นาที เนื่องจากมีลักษณะค่อนข้างหนาและหนัก ตกแตกง่ายอย่างจานกระเบื้อง บางทีจึงเรียกว่า จานเสียง คุณภาพเสียงออกทางแหลมแตกพร่ารวมทั้งรบกวนจากหัวเข็มโลหะที่ต้องคอยเปลี่ยนบ่อย
แผ่นครั่งในเมืองไทย ได้แก่ ปาเต๊ะ ,อาร์ซีเอ วิคเตอร์ (ที่เรียกติดปากว่า ตราหมาหน้าเขียว,แดง,เหลือง ฯลฯ ) ,พาร์โลโฟน ,โคลัมเบีย ,เดคก้า ,บรันซวิค ,แคปิตอล ,ฟิลิปส์ ,เอ็มจีเอ็ม ,เทพดุริยางค์ ,โอเดียน (ช้างคู่ ) ,ศรีกรุง (พระปรางค์วัดอรุณ ) ,กระต่าย ,อัศวิน ,สุนทราภรณ์ ,มงกุฏ ,เทพนคร ,นางกวัก ,วัวกระทิง ,ค้างคาว ,ลิง ,หมี ,นาคราช ,หงษ์ (คู่ ) ,กามเทพ ,เพชรสุพรรณ ,กรมศิลปากร แผ่นที่ใช้เฉพาะในสถานี เช่น กรมโฆษณาการ (แผ่นดิบ ) หรือจำหน่ายบางโอกาส เช่น เนรมิตภาพยนตร์ ฯลฯ
ในการผลิตจำหน่าย มีทั้งทำแผ่นเองในประเทศ และอีกส่วนหนึ่งส่งมาสเตอร์ไปทำแผ่นที่ต่างประเทศ โดยเฉพาะที่เมืองดัม ดัม ประเทศอินเดีย (Dum Dum India) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั้งในยุโรปและอเมริกาว่ามีมาตรฐานสูง คูณภาพเนื้อแผ่นดีที่สุด (และผู้ผลิตในเมืองไทยยังคงนิยมสั่งทำแผ่นจากที่นี่จนถึงยุคแผ่นลองเพลย์กับซิงเกิลในช่วงแรก) แต่จานเสียงครั่งที่สั่งทำจากต่างประเทศดังกล่าว บางชุดมาไม่ถึงเมืองไทยเนื่องจากประสบอุบัติเหตุในการขนส่งขณะเดินทางจมน้ำเสียหายหมด

แผ่นเสียงไวนิล[แก้]

อัลบั้มลองเพลย์[แก้]

ช่วงปี พ.ศ. 2491 บริษัทแผ่นเสียงโคลัมเบีย ในอเมริกา พัฒนาแผ่นบันทึกเสียงชนิดใหม่ได้สำเร็จ เรียกว่า แผ่นเสียง/อัลบั้มลองเพลย์ (Long played record /album) บางทีเรียก แผ่นเสียงไวนิล(Vinyl) [2] ตามชื่อพลาสติก[3] คุณภาพดีที่ได้จากคาร์ไบด์ (Carbide)[4] แผ่นชนิดนี้ มีขนาดบาง เบา ตกไม่แตก คุณภาพเสียงทุ่มนุ่มนวลลุ่มลึกมากขึ้น สามารถลดเสียงรบกวนจากหัวเข็มลงเหลือเพียงเล็กน้อย และบรรจุเพลงเพิ่มขึ้นด้วยขนาด 12 นิ้ว สปีด 33 รอบเศษ/นาที ปกติบันทึกได้หน้าละ 20 นาทีเศษ (ราว 6-7 เพลง/หน้า)
ในต่างประเทศ ยังคงมีผลิตบ้างจำนวนจำกัดเฉพาะกลุ่มที่ชอบฟังเสียงจากแผ่นไวนิล ทำให้แต่ละอัลบั้มมีราคาสูง ส่วนประเทศไทยซึ่งเลิกผลิตแบบอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ .2535 เมื่อแถบบันทึกเสียงตลับ (Cassette Tape) เป็นที่นิยมมากขึ้นก่อนถึงยุคแผ่นซีดีเข้ามาแทนที่ตามลำดับ ปัจจุบันกำลังมีกระแสการกลับมานิยมแผ่นรูปแบบนี้อีกครั้ง ตั้งแต่ราวต้นทศวรรษ 2550 บริษัทค่ายเพลงต่างๆ ในเมืองไทยสั่งทำแผ่นจำนวนจำกัดจากโรงงานที่ ญี่ปุ่น อเมริกา และ เยอรมนี กับใช้ภาพปกต้นฉบับแบบเดิมสำหรับนักสะสม และมีราคาจากหลักร้อยในอดีตเป็นหลักพันบาทขึ้นไป พร้อมๆกับตลาดแผ่นเสียงมือสองขยายตัวอย่างรวดเร็วในศูนย์การค้าจนถึงสื่ออินเทอร์เน็ต

แผ่นซิงเกิล[แก้]

ปี พ.ศ. 2492 บริษัท อาร์ซีเอ วิคเตอร์ ทำแผ่นไวนิลขนาดเล็ก 7 นิ้ว สปีด 45 รอบ/นาที คุณภาพเสียงด้อยกว่าแผ่นใหญ่เล็กน้อย บันทึกได้หน้าละไม่เกิน 2 เพลง เรียกกันว่า แผ่นซิงเกิล (Single) มักใช้กับเพลงเด่นๆ ที่ตัดจากแผ่นลองเพลย์ เพื่อเผยแพร่ตามสถานีวิทยุ ก่อนวางจำหน่ายอัลบั้มเต็ม
แผ่นไวนิลทุกขนาดมีการผลิตต่อเนื่องยาวนานถึง 30 ปี ก่อนเข้าสู่ยุคใหม่ของการบันทึกเสียงด้วยระบบดิจิตอลบนแผ่นซีดี
แผ่นไวนิลในเมืองไทย ได้แก่ อาร์ซีเอ ,โคลัมเบีย ,เดคก้า ,แคปิตอล ,ฟิลิปส์ ,เอ็มจีเอ็ม ,ศรีกรุง ,กระต่าย ,อัศวิน ,สุนทราภรณ์ ,มงกุฏ ,เคเอส (กมลสุโกศล ) ,นางฟ้า (เมโทรแผ่นเสียง ) ,สุพรรณหงษ์ (กรุงไทย ) ,นิธิทัศน์ ,อีเอ็มไอ ,จีเอ็มเอ็ม (แกรมมี่ ) ,อาร์เอส ,อโซน่าร์ ฯลฯ รวมถึงแผ่นที่ใช้เฉพาะในสถานี วิทยุ อส. หรือจำหน่ายบางโอกาส เช่น กรมศิลปากร ,ละโว้ภาพยนตร์ และ ทีวี 4 (ไทยทีวีช่อง 4)เป็นต้น
แผ่นเสียงเพลงไทยส่วนใหญ่นิยมทำเป็นอัลบั้มไวนิลขนาด 12 นิ้ว ส่วนแผ่นครั่งขนาด 10 นิ้ว ซึ่งมีเสียงรบกวนและดูแลรักษายาก ไม่เป็นที่นิยมทั่วโลกนานแล้ว

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/แผ่นเสียง